วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ทายนิสัยจากรูปเรขาคณิต
สามเหลี่ยม เป็นคนคล่องแคล่ว กระตือรือร้น ใจร้อน ทำงานรวดเร็ว ไม่ชอบการรอคอย และมักพูดมากกว่าทำ
รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นคนสุขุมมั่นคง หนักแน่นทั้งในความคิดและการกระทำ อดทน โน้มน้าวยาก ชอบทำมากกว่าพูด
รูปสี่เหลี่ยมคางหมูรักความสะดวกสบายเป็นชีวิต ค่อนข้างเฉื่อยชา ตัดสินใจช้า และโลเลไม่แน่นอน บางครั้งพูดไปแล้วก็ไม่ทำ
วงรี เป็นคนที่มีความรู้สึกเร็ว การดำเนินชีวิตจะมีบทบาท ลีลา พิธีการและเป็นขั้นตอน มีเทคนิคและศิลปะในทุกการกระทำ ชอบคุยว่าจะทำ อยากทำ แต่รอคอยนานกว่าจะทำ
วงกลม เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์แปลก ๆ ทะเยอทะยาน มักได้รับความสำเร็จเพราะถือว่า ได้รับพรจากฟากฟ้า กับความคิดไม่หยุดนิ่ง แปลก ๆ ไม่เหมือนใคร มีอารมณ์ขัน ทั้งการพูดและการกระทำ
Source : วารสารฉลาดซื้อ ฉบับที่29
นักคณิตศาสตร์
ยูคลิด (Euclid) ยูคลิดเป็นนักคณิตศาสตร์ที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันดี ยูคลิดเกิดที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอิยิปต์ เมื่อราว 365 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อมีชีวิตอยู่จนกระทั่งประมาณปี 300 ก่อนคริสตกาล สิ่งที่มีชื่อเสียงคือผลงานเรื่อง The Elements
หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี
ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตักยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม
หลักฐานและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวยูคลิดยังคงสับสน เพราะมีผู้เขียนไว้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตามผลงานเรื่อง The Elements ยังคงหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ จากหลักฐานที่สับสนทำให้สันนิษฐานที่เกี่ยวกับยูคลิดมีหลายแนวทาง เช่น ยูคลิดเป็นบุคคลที่เขียนเรื่อง The Element หรือยูคลิดเป็นหัวหน้าทีมนักคณิตศาสตร์ที่อาศัยอยู่ที่อเล็กซานเดรีย และได้ช่วยกันเขียนเรื่อง The Elements อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ก็มั่นใจว่ายูคลิดมีตัวตนจริง และเป็นปราชญ์อัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีชีวิตในยุคกว่า 2,000 ปี
ผลงาน The Elements แบ่งออกเป็นหนังสือได้ 13 เล่ม ใน 6 เล่มแรกเป็นผลงานเกี่ยวกับเรขาคณิต เล่ม 7, 8 และ 9 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีตัวเลข เล่ม 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎีที่ว่าด้วยจำนวนอตักยะ เล่ม 11, 12 และ 13 เกี่ยวข้องกับเรื่องราว รูปเรขาคณิตทรงตัน และปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงรูปทรงหลายเหลี่ยม และข้อพิสูจน์เกี่ยวกับรูปทรงหลายเหลี่ยม
ผลงานของยูคลิดเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาก และกล่าวกันว่าผลงาน The Elements เป็นผลงานที่ต่อเนื่อง และดำเนินมาก่อนแล้วในเรื่องผลงานของนักคณิตศาสตร์ยุคก่อน เช่น ทาลีส (Thales), ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) และพีธากอรัส อย่างไรก็ตาม หลายผลงานที่มีในหนังสือนี้เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นบทพิสูจน์และผลงานของยูคลิดเอง ผลงานของยูคลิดที่ได้รับการนำมาจัดทำใหม่ และตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1482 หลังจากนั้นมีผู้นำมาตีพิมพ์อีกมากมายนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน
เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...มีเรื่องเล่าว่า
ในชั่วโมงคณิตศาสตร์ ขณะที่ครูยอดกำลังสอนเรื่องตรีโกณมิติ เนื้อหาที่มีสูตรยุ่งยากและซับซ้อน
เด็กชายมนูญ ขาซ่าประจำห้องก็ถามโพล่งออกมาว่า
“ครูครับ ทำไมผมต้องมานั่งเรียนอะไรยาก ๆ อย่างนี้ด้วย”
“เพื่อช่วยชีวิตคนนะสิ” ครูยอดตอบ
เด็กชายมนูญ ตัวแสบนั่งเงียบครู่หนึ่ง แต่ยังไม่ลดละความซ่าลง แล้วตะโกนอีกว่า
“ครูครับ ตรีโกณมิตินี่นะ มันมีไว้ช่วยชีวิตคน”
เด็กชายมนูญเน้นเสียง ไม่เชื่อเหตุผลที่ครูยอดบอก
“ใช่” ครูยอดตอบหนักแน่น แต่นุ่มนวล
ก่อนขยายความต่อว่า
“เอาไว้กันไม่ให้พวกโง่ ๆ อย่างเธอ Ent’ ติดคณะแพทย์น่ะสิ”
ในชั่วโมงคณิตศาสตร์ ขณะที่ครูยอดกำลังสอนเรื่องตรีโกณมิติ เนื้อหาที่มีสูตรยุ่งยากและซับซ้อน
เด็กชายมนูญ ขาซ่าประจำห้องก็ถามโพล่งออกมาว่า
“ครูครับ ทำไมผมต้องมานั่งเรียนอะไรยาก ๆ อย่างนี้ด้วย”
“เพื่อช่วยชีวิตคนนะสิ” ครูยอดตอบ
เด็กชายมนูญ ตัวแสบนั่งเงียบครู่หนึ่ง แต่ยังไม่ลดละความซ่าลง แล้วตะโกนอีกว่า
“ครูครับ ตรีโกณมิตินี่นะ มันมีไว้ช่วยชีวิตคน”
เด็กชายมนูญเน้นเสียง ไม่เชื่อเหตุผลที่ครูยอดบอก
“ใช่” ครูยอดตอบหนักแน่น แต่นุ่มนวล
ก่อนขยายความต่อว่า
“เอาไว้กันไม่ให้พวกโง่ ๆ อย่างเธอ Ent’ ติดคณะแพทย์น่ะสิ”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)